หน้าเว็บ
ปฎิทิน NewTang
วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2554
ภาคกลาง
อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา บนเนื้อที่กว่า 3,000 ไร่ของเกาะเมืองอยุธยานั้นซุกซ่อนเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่น่าอัศจรรย์ใจไว้มากมาย ประกอบด้วยโบราณสถานสำคัญหลายแห่ง นักท่องเที่ยวสามารถเลือกเที่ยวได้หลายวิธีทั้งการนั่งรถราง, นั่งช้าง หรือจะเลือกชมยามค่ำคืนที่มีการจัด Mini Light @ Sound ก็ได้
ตลาดน้ำยามเย็นอัมพวา สำหรับใครที่ได้มาเยือนสมุทรสงครามต้องไม่พลาดมาตลาดน้ำอัมพวา ตลาดน้ำยามเย็นแห่งเดียวในประเทศ ที่รื้อฟื้นบรรยากาศการค้าขายทางน้ำให้คึกคักตลอดเรือนแถวไม้ริมน้ำสองฝั่งคลอง นักท่องเที่ยวสามารถนั่งเรือตามหาหิ่งห้อยใต้ต้นลำพู แล้วกลับมาพักผ่อนในบ้านพักหลากหลายรูปแบบ ทั้งแบบติดริมน้ำและแบบบ้านสวน ยามเช้าใส่บาตรดื่มด่ำไปกับวิถีชีวิตผู้คนริมสายน้ำแม่กลอง (เปิดวันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์)
อ้างอิงจาก : html">http://travel.sanook.com/สุดยอด-19-แหล่งท่องเที่ยวภาคกลาง-932229.html
ภาคเหนือ
ชื่อนี้มักจะเป็นติดอันดับต้นๆ ของการท่องเที่ยว เดิมชื่อว่า ดอยหลวง หรือ ดอยอ่างกา ดอยหลวง หมายถึงภูเขาที่มีขนาดใหญ่ ส่วนที่เรียกว่า ดอยอ่างกานั้น เพราะมีหนองน้ำอยู่แห่งหนึ่งลักษณะเหมือน อ่างน้ำ มีฝูงกาไปเล่นน้ำกันมากมาย จึงเรียกว่า อ่างกาหรือ ดอยอ่างกา
ดอยอินทนนท์ เป็นยอดดอยที่สูงที่สุดในประเทศไทย (2,599 เมตร) จึงทำให้มีสภาพอากาศหนาวเย็นตลอดปี สถานที่น่าสนใจในอุทยานฯ มี น้ำตกแม่ยะ น้ำตกแม่กลาง น้ำตกวชิรธาร น้ำตกสิริภูมิ ถ้ำบริจินดา โครงการหลวงอินทนนท์ และ เส้นทางศึกษาธรรมชาติหลายจุด
ภูชี้ฟ้า จ.เชียงราย
ทุ่งบัวตองดอยแม่อูคอ – ดอยแม่เหาะ จ.แม่ฮ่องสอน
อ้างอิงจาก : http://www.muangthai.com/thaidata/6656/10-ที่เที่ยวในหน้าหนาว.html
ภาคอีสาน
จากระดับความสูงของพื้นที่และความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่าดิบ ทำให้เขาใหญ่มีอากาศเย็นสบายแม้ในฤดูร้อน โดยมีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 23องศาเซลเซียส ฤดูหนาวราวเดือนตุลาคมถึงกุมภาพันธ์เป็นช่วงที่นักท่องเที่ยวนิยมไปเขาใหญ่มากที่สุด ส่วนในช่วงฤดูฝน สภาพธรรมชาติบนเขาใหญ่ชุ่มช่ำ ป่าไม้และทุ่งหญ้าเขียวขจีสดใส น้ำตกทุกแห่งไหลแรงเสียงดังก้องป่าให้ชีวิตชีวาแก่ผู้ไปเยือนแม้การเดินทางจะค่อนข้างลำบาก แต่จำนวนนักท่องเที่ยวก็ไม่ได้ลดน้อยลงไปเลย
ป่าเขาใหญ่มีไม้มีค่าและพืชสมุนไพรนานาชนิดที่สมควรได้รับการดูแลอนุรักษ์ไว้ พันธุ์ไม้ที่น่าสนใจ เช่น ไทร ซึ่งได้รับสมญานามว่า “นักบุญแห่งป่า นักฆ่าแห่งพงไพร” ผลของไทรเป็นอาหารให้สัตว์ป่าหลายชนิดรวมทั้งนกเงือก แต่ในขณะเดียวกันไทรก็เป็นต้นไม้ที่ต้องอิงอาศัยต้นไม้อื่นในการเจริญเติบโตจึงไปแย่งน้ำและอาหารทำให้ต้นไม้นั้นค่อย ๆ ตายไปในที่สุด เตยน้ำ เป็นไม้เลื้อยที่มีกลิ่นคล้ายตะไคร้ภายในมีท่อลำเลียงน้ำขนาดใหญ่สามารถนำมาดื่มได้ สุรามริด ใช้ดองเหล้าแก้ปวดหลังปวดเอว กะเพราต้น เป็นไม้ใหญ่ยืนต้น แก้เจ็บท้องขับลม เงาะป่า ผลมีขนแข็งสีเหลืองแต่รับประทานไม่ได้ และ กฤษณา ไม้ซึ่งสามารถสกัดเปลือกไปทำเครื่องหอมได้ เป็นต้น
อุทยานฯ ได้สร้างหอสูงสำหรับส่องดูสัตว์อยู่สองจุด คือ บริเวณ มอสิงโต และ หนองผักชี อนุญาตให้ขึ้นไประหว่างเวลา 08.00-18.00 น. บริเวณที่ตั้งหอดูสัตว์เป็นทุ่งหญ้าซึ่งเจ้าหน้าที่อุทยานฯจะเผาทุกปีเพื่อให้เกิดหญ้าอ่อน หรือหญ้าระบัดขึ้นสำหรับเป็นอาหารสัตว์ และยังมีโป่งดินเค็มที่เป็นแหล่งเกลือแร่ของสัตว์ต่าง ๆ อยู่ด้วย นักท่องเที่ยวที่ต้องการนั่งรถส่องสัตว์ในเวลากลางคืนสามารถติดต่อที่ทำการอุทยานฯ ก่อนเวลา 18.00 น.
เขาใหญ่ยังเหมาะเป็นที่ดูนกและผีเสื้อ จากการสำรวจ พบนกจำนวนไม่น้อยกว่า 293 ชนิด และมีอยู่ 200 ชนิด ที่พบว่าอาศัยป่าเขาใหญ่เป็นแหล่งอาหารและที่อยู่อาศัยอย่างถาวร นกที่น่าสนใจได้แก่ นกเงือกซึ่งถือเป็นตัวบ่งชี้ว่าป่านั้นยังคงความอุดมสมบูรณ์ ที่พบบนเขาใหญ่มีอยู่ 4 ชนิด นอกจากนั้นยังมีนกที่พบเห็นได้บ่อย ได้แก่ นกขุนทอง นกขุนแผน นกพญาไฟ นกแต้วแล้ว นกโพระดก นกแซงแซว นกเขา นกกระปูด ไก่ฟ้า และนกกินแมลงชนิดต่างๆ ส่วนแมลงที่สวยงามและพบเห็นมากคือ ผีเสื้อซึ่งมีอยู่ประมาณ 5,000 ชนิด การเดินป่าศึกษาธรรมชาติ มีเส้นทางให้เลือกมากกว่า 20 เส้นทาง ที่ต่างกันทั้งความงามของธรรมชาติ และระยะทาง ระยะทางที่ใช้ในการเดินป่า มีตั้งแต่ 1-2 ชั่วโมง เช่น เส้นทางศึกษาธรรมชาติกองแก้ว เส้นทางกิโลเมตรที่ 33 (ถนนธนะรัชต์-หนองผักชี)หรือที่ต้องเข้าไปพักค้างแรมในป่า เช่น เส้นทางน้ำตกนางรอง-เขาใหญ่ เส้นทางเขาสมอปูน หรือเส้นทางหน่อยฯ ขญ.4-น้ำตกวังเวง เป็นต้น โดยสามารถติดต่อขอรายละเอียดและเจ้าหน้าที่นำทางได้ที่ ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว
น้ำตกเหวสุวัต เป็นน้ำตกที่มีชื่อเสียงมากเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป ตั้งอยู่สุดถนนธนะรัชต์ รถเข้าถึง จากลานจอดรถเดินลงไปเพียง 100 เมตร หรือจะเดินเท้าต่อจากน้ำตกผากล้วยไม้ไปประมาณ 3 กิโลเมตร จะได้ เห็นสายน้ำตกลงมาจากหน้าผาสูงราว 20 เมตร มีจุดชมน้ำตกในระยะไกลที่สามารถมองผ่านแมกไม้เห็นภาพของน้ำตกทั้งหมดในมุม สูงได้สวยงาม หรือหากต้องการสัมผัสกับสายน้ำตกและแอ่งน้ำด้านล่าง ก็มีทางเดินลัดเลาะลงไปได้ แต่ในช่วงฤดูฝนน้ำจะมาก ไหลแรง และเย็นจัดควรระมัดระวังอันตราย
น้ำตกเหวไทร-เหวประทุน
จากน้ำตกเหวสุวัตมีป้ายบอกทางเดินต่อไปยังน้ำตกสองแห่งนี้ซึ่งตั้งอยู่ไม่ไกลกันนัก เป็นสายน้ำที่เชื่อมต่อกับน้ำตกเหวสุวัต ทางลงสู่น้ำตกชันมากและลื่นโดยเฉพาะหลังฝนตก บรรยากาศโดยรอบร่มรื่นมาก หากเดินไปอย่างเงียบ ๆ ระหว่างทาง อาจได้พบกับสัตว์เล็ก ๆ เช่น นก กระรอก
เป็นน้ำตกขนาดหญ่และสูงที่สุดของอุทยานฯ อยู่ห่างจากที่ทำการฯลงมาทางทิศใต้ทางที่จะลงไปปราจีนบุรี โดยต้องเดินเท้าแยกจากทางสายหลักไปประมาณ 1 กิโลเมตร ถึงจุดชมวิวที่มีมุมมองเห็นน้ำตกได้สวยงาม น้ำตกมีทั้งหมด 3 ชั้น ชั้นแรกสูงประมาณ 60 เมตร เมื่อน้ำไหลผ่านหน้าผาชั้นนี้จะพุ่งลงสู่หน้าผาชั้นที่ 2 และ 3 ที่อยู่ถัดลงไปใกล้ ๆ กันในลักษณะชันดิ่ง 90 องศา รวมความสูงไม่ต่ำกว่า 150 เมตร ในฤดูฝนสายน้ำที่ไหลทะลักไปสู่หุบเหวเบื้องล่างจะแรงมากจนน่ากลัวและเมื่อกระทบหินเบื้องล่างจะแตกกระเซ็นสร้างความชุ่มชื้นไปทั่วบริเวณ บริเวณน้ำตกเหวนรกเป็นเขตหากินของช้างป่า ซึ่งช้างมักจะไม่เปลี่ยนเส้นทางหากิน จึงมักเกิดเหตุโศกนาฎกรรมช้างพลัดตกเหวอยู่เนืองๆ
จุดชมวิวผาเดียวดาย อยู่ระหว่างทางขึ้นยอดเขาเขียว ประมาณ กิโลเมตรที่ 9 จากปากทางเข้าผาเดียวดายเดินเข้าไปอีก 200 เมตร ระหว่างทางจะเห็นมอส เฟินขึ้นปกคลุมอยู่ทั่วข้อควรระวัง ทางไปผาเดียวเดียวถนนเป็นหลุมอยู่บ้างให้ใช้ความระวังในการขับรถโดยเฉพาะขาลงโปรดใช้เกียร์ต่ำห้ามใช้เกียร์ว่างลงเขา
จุดชมวิว กม. 30 ถ.ธนะรัชต์ สามารถมองเห็นทิวทัศน์ด้านทิศเหนือของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ได้เป็นบริเวณกว้าง
Tip. ควรพกกล้องส่องทางไกลมาด้วย การดูสัตว์นั้นไม่แน่ไม่นอนอาจจะรอนานถึงจะเจอสัตว์
การเดินทาง
รถยนต์ส่วนตัว อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 205 กิโลเมตร สามารถไปได้ 2 เส้นทางคือ แยกจากถนนมิตรภาพตรง กิโลเมตรที่ 56 ไปตามถนนธนะรัชต์ประมาณ 23 กิโลเมตร อีกเส้นทางหนึ่งคือ จากกรุงเทพฯ-แยกหินกอง แล้วไปตามทางหลวงหมายเลข 33 (นครนายก-ปราจีนบุรี) ถึงสี่แยกเนินหอมใช้ทางหลวง 3077 ไปถึงเขาใหญ่ เส้นทางที่สองค่อนข้างชันเหมาะที่จะใช้เป็นทางลงมากกว่า
รถประจำทาง ให้ลงที่อำเภอปากช่องแล้วต่อรถสองแถวขึ้นเขาใหญ่ บริเวณหน้าตลาดปากช่องรถจะไปถึงตรงแค่ด่านเก็บเงิน ค่ารถ 15 บาท มีบริการระหว่างเวลา 06.00-17.00 น. จากนั้นต้องโบกรถขึ้นไปยังที่ทำการฯ หรือจะเช่ารถจากปากช่องเลยก็ได้
ค่าธรรมเนียมเข้าชมอุทยานฯ ชาวไทย เด็กคนละ 20 บาท ผู้ใหญ่ 40 บาท ชาวต่างประเทศเด็ก 200 บาท ผู้ใหญ่ 400 บาท รถ 50 บาท
ที่พักและสิ่งอำนวยความสะดวก บริเวณผากล้วยไม้จัดเป็นสถานที่ตั้งเต็นท์พักแรม ซึ่งรับนักท่องเที่ยวได้กว่า 1,000 คน เสียค่าธรรมเนียม เด็ก 10 บาท ผู้ใหญ่ 20 บาท/คืน มีร้านค้าสวัสดิการขายอาหาร และมีเต็นท์และเครื่องนอนให้เช่า นอกจากนั้นยังมีค่ายพักบริการอีก 2 แห่งคือ ค่ายพักกองแก้ว และค่ายพักเยาวชน ซึ่งรับนักท่องเที่ยวได้ รวม 250 คน และเสียค่าธรรมเนียมคนละ 30 บาท ไม่มีเครื่องนอนให้ ติดต่อขออนุญาตที่ที่ทำการฯก่อนเวลา 18.00 น.
สอบถามรายละเอียดที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช โทร. 0 2562 0760 หรือที่ทำการอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ปณ.9 อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา 30130 หรือ www.dnp.go.th ติดต่อสอบถามข้อมูลการส่องสัตว์ โทร. 08 1877 3127